“พิมพา คำพับ” ดีไซเนอร์ เจ้าของแบรนด์ดัง “Pimpaparis” สาวไทยเพียงคนเดียวที่จบหลักสูตรการตัดเย็บชั้นสูง Haute Couture (โอร์กูตู) สถาบันออกแบบระดับโลก ประเทศฝรั่งเศส (Chambre Syndicate de la Couture Parisienne) ที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับแฟชั่นที่ฝรั่งเศสนานถึง 16 ปี ก่อนที่จะบินลัดฟ้ากลับมาเพื่อสานฝัน ด้วยฝีมือที่โดดเด่นและหาคนเปรียบยาก จากการสั่งสมประสบการณ์จริงทั้งการเรียนและทำงานที่ฝรั่งเศส ประเทศแห่งโลกแฟชั่น
“พิมพา” เดินทางกลับมาสู่ประเทศบ้านเกิด ด้วยความปรารถนาที่แรงกล้า คือต้องยกระดับแฟชั่นไทยและส่งออกผลิตภัณฑ์จากเมืองไทยไปสู่การยอมรับในเวทีระดับโลกให้ได้ ภายใต้บทบาทที่หลากหลายในการผลักดันแฟชั่นไทย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ไฟแรงที่มุ่งมั่นเดินหน้าสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านแฟชั่นให้กับนิสิตแบบไม่มีกั๊ก ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นผู้ให้ ถ่ายทอดความรู้จากการเรียนจบแฟชั่นในฐานะผู้เป็น Specialist ด้านการปักชั้นสูงจาก Ecole Lesage de Paris ไปจนถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนหลายหน่วยงาน อาทิ โครงการภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม , กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในฐานะดีไซเนอร์อิสระที่มีความมุ่งมั่นจะพาแฟชั่นไทยให้ประจักษ์สู่สายตาชาวโลก ด้วยการใช้วัตถุดิบที่แสดงอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาค และช่วยยกระดับฝีมือด้านการออกแบบแฟชั่นของชาวบ้านในพื้นที่ ให้ก้าวไกลไปในระดับอินเตอร์ ผสานความแตกต่างแบบไทยให้กลมกล่อม เป็นหนึ่งเดียวกันกับแฟชั่นในระดับโลกcks
แรงบันดาลใจสู่ความมุ่งมั่น Fashion High End
“พิมพา” เล่าย้อนให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่สัมภาษณ์เพื่อเข้าเรียนที่ Haute Couture โรงเรียนแฟชั่นที่ติด 1 ใน 10 ของโลก คำถามตอนสัมภาษณ์ที่อาจารย์ถามคือ “อะไร..ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรา อยากจะเรียนในสาขานี้?” ณ เวลานั้นเธอตอบกลับไปทันทีว่า “อยากจะเห็น Fashion High End ในประเทศไทย โดยการใช้เทคนิคของฝรั่งเศส มาช่วยชุมชน ช่วยชาวบ้าน” จากวันนั้นจนถึงวันนี้ พิมพายังคงเดินตามแรงบันดาลใจของตนเอง และได้มีโอกาสทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาถึง 5 ปี ในฐานะที่ปรึกษาในการช่วยให้ SMEs สามารถผลิตสินค้าได้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จนได้สินค้าคุณภาพและมีแฟชั่นที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง
“5 ปีที่ผ่านมา จากการได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ เราได้ช่วยชุมชนไปประมาณ 500 – 600 โครงการทั่วประเทศ ไปต่อยอดเรื่องความคิด ความรู้ จนมีผู้ประกอบการเรียกร้องอยากจะเข้าร่วมกิจกรรมด้วย และอยากให้เราไปช่วยสอน เพราะเขาสัมผัสได้ว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะช่วยชุมชนจากใจจริง เราอยากทำให้มันสำเร็จ อยากทำให้เมืองไทยเป็นเมืองแฟชั่น ที่โดดเด่นไม่แพ้ประเทศฝรั่งเศส”
“5 ปีที่ผ่านมา จากการได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ เราได้ช่วยชุมชนไปประมาณ 500 – 600 โครงการทั่วประเทศ ไปต่อยอดเรื่องความคิด ความรู้ จนมีผู้ประกอบการเรียกร้องอยากจะเข้าร่วมกิจกรรมด้วย และอยากให้เราไปช่วยสอน เพราะเขาสัมผัสได้ว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะช่วยชุมชนจากใจจริง เราอยากทำให้มันสำเร็จ อยากทำให้เมืองไทยเป็นเมืองแฟชั่น ที่โดดเด่นไม่แพ้ประเทศฝรั่งเศส”
ดันผ้าไทยไปรันเวย์ Around The World
เมื่อได้มีโอกาสเดินตามความฝันและเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ในที่สุด “พิมพา” ก็สามารถพาผ้าไทยไปเฉิดฉายบนรันเวย์ระดับโลกได้สำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจ ภายในงาน Fashion Week ในเมืองใหญ่ของโลกทั้งที่ ลอนดอน นิวยอร์ก และปารีส
เธอเล่าว่าจุดเริ่มต้นแห่งโอกาส เกิดจากลูกศิษย์ได้โทรมาให้ช่วยดีไซน์แฟชั่นจากผ้าไทยจำนวน 6 ชุด เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงราย โดยมีเงื่อนไขว่าทุกขั้นตอนต้องเสร็จภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์! ด้วยเงื่อนไขของเวลาความรู้สึกท้าทาย กดดัน ถาโถมเข้ามาทันที แต่เหนือสิ่งอื่นใด นี่คือแสงแห่งโอกาสครั้งสำคัญที่เธอจะได้พาผ้าไทยไปอวดโฉมให้ชาวโลกได้เห็นอย่างที่ฝันไว้
เธอเล่าว่าจุดเริ่มต้นแห่งโอกาส เกิดจากลูกศิษย์ได้โทรมาให้ช่วยดีไซน์แฟชั่นจากผ้าไทยจำนวน 6 ชุด เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงราย โดยมีเงื่อนไขว่าทุกขั้นตอนต้องเสร็จภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์! ด้วยเงื่อนไขของเวลาความรู้สึกท้าทาย กดดัน ถาโถมเข้ามาทันที แต่เหนือสิ่งอื่นใด นี่คือแสงแห่งโอกาสครั้งสำคัญที่เธอจะได้พาผ้าไทยไปอวดโฉมให้ชาวโลกได้เห็นอย่างที่ฝันไว้
“งานนั้นเราทุ่มเทและเร่งมือเต็มที่ คิดในใจไว้เลยว่ายังไงต้องให้ทัน ความฝันของเราที่จะเอาความงดงามของไทยไปอยู่บนรันเวย์มาถึงแล้ว โจทย์ของเราคือ ต้องโชว์ความเป็นไทยได้แต่ต้องไม่ล้าสมัย ไม่ใช่ดีไซน์แบบเดิมๆ ชุดที่นำไปโชว์จึงมีทั้ง Culture และความทันสมัยผสมผสานกัน เป็นชุดชาติพันธุ์ที่ดีไซน์แบบเย้าผสม กระโปรงเป็นหนังขลิบด้วยรูปแบบงานที่เป็นรูปปอมปอม สามารถใส่ได้ในชีวิตจริง เป็นเกาะอกที่เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรรค์ คือสมัยก่อนเราไม่มีชุดชั้นใน เราใช้ผ้าคาดอก กระโปรงทรงดินสอใช้เป็นหนังผสมกับผ้าฝ้าย ได้แรงบันดาลใจจากชุดชาติพันธุ์ของเย้า แต่เราทำให้เป็นแฟชั่นร่วมสมัย และสวมใส่ได้จริง ฉีกรูปแบบเดิมๆ ของชุดชาติพันธุ์เย้าที่เราเคยเห็นมาตั้งแต่เด็กจนโต”
โดยความมุ่งมั่นและตั้งใจของพิมพาและทีมในครั้งนั้นไม่สูญเปล่า ผลงานบนเวทีได้รับคำชื่นชมและความสนใจอย่างล้นหลามเกินความคาดหมาย แม้กระทั่ง นิตยสารชื่อดังอย่าง ELLE Fashion Week ยังได้นำภาพแฟชั่นชุดนี้ไปลงตีพิมพ์ โดยความโดดเด่นของชุดที่ได้รับการชื่นชมนั้น เกิดจากการผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ พิมพา มีการนำแนวคิดในการใช้วัตถุดิบของชาวบ้านมาเป็นพื้นฐานในการทำ Collection ในครั้งนี้ เพราะต้องการให้แฟชั่นจากผ้าไทยและเรื่องราวของชาติพันธุ์เกิดในเวทีโลกไปพร้อมกับเธอ ซึ่งตรงกับเทรนด์ของต่างประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับความหลากหลายของผิวสีและความเสมอภาคของมนุษย์
ในอนาคต “พิมพา” ยังวางแผนที่จะเตรียมนำวัตถุดิบไทยจากทุกภาคไปโชว์บนรันเวย์ เพราะแต่ละภาคของไทยล้วนมีผ้าที่เป็นวัตถุดิบชั้นดีและครูช่างมากฝีมือ ที่สามารถนำมาผสมผสานต่อยอดในการออกแบบชุดแฟชั่นได้เป็นอย่างดี เช่น ผ้าไหมของปักธงชัย ผ้าฝ้ายจากเลย เสื่อกกจากอำนาจเจริญ หญ้าแฝกที่ยะลา ผ้าฝ้ายลำพูน ผ้าบาติกกระบี่ บาติกภูเก็ต ผ้าทอของสุโขทัย กลุ่มช่างหัตถศิลป์ของนครนายก เป็นต้น เธอบอกว่าความรู้ที่ชาวบ้านมีเป็นความรู้ที่เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ขอเพียงได้เข้าไปช่วยเสริมทักษะ เปลี่ยนมุมมอง ปรับแนวคิด ก็จะต่อยอดให้ผ้าไทยไปได้ไกลยิ่งขึ้น
ในอนาคต “พิมพา” ยังวางแผนที่จะเตรียมนำวัตถุดิบไทยจากทุกภาคไปโชว์บนรันเวย์ เพราะแต่ละภาคของไทยล้วนมีผ้าที่เป็นวัตถุดิบชั้นดีและครูช่างมากฝีมือ ที่สามารถนำมาผสมผสานต่อยอดในการออกแบบชุดแฟชั่นได้เป็นอย่างดี เช่น ผ้าไหมของปักธงชัย ผ้าฝ้ายจากเลย เสื่อกกจากอำนาจเจริญ หญ้าแฝกที่ยะลา ผ้าฝ้ายลำพูน ผ้าบาติกกระบี่ บาติกภูเก็ต ผ้าทอของสุโขทัย กลุ่มช่างหัตถศิลป์ของนครนายก เป็นต้น เธอบอกว่าความรู้ที่ชาวบ้านมีเป็นความรู้ที่เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ขอเพียงได้เข้าไปช่วยเสริมทักษะ เปลี่ยนมุมมอง ปรับแนวคิด ก็จะต่อยอดให้ผ้าไทยไปได้ไกลยิ่งขึ้น
ปักหมุดหมายสู่ผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“อยากเห็นคนไทยสัก 20% ที่ลุกขึ้นมาโต้เถียงในเรื่องแฟชั่น ทิศทางของเทรนด์โลก”
พิมพา เอ่ยถึงเป้าหมายถัดไปในอนาคตที่เธออยากมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้สำเร็จ เพราะเธอมองว่าประเทศไทยมีวัตถุดิบและจุดเด่นที่มีศักยภาพมากพอ ที่จะขับเคลื่อนผ้าไทย แฟชั่นจากชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ไปสู่ผู้นำเทรนด์โลกได้เหมือนกับเมืองอื่นในต่างประเทศ และสามารถก้าวไปสู่การเป็น “ผู้นำแฟชั่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำด้าน Tropical Fashion
“แต่ปัญหาตอนนี้คือ ในชุมชนเองก็อยู่ในช่วงก้ำกึ่งระหว่างเจนเก่ากับเจนใหม่ เจนใหม่ก็ไม่อยากกลับบ้านเกิดไปสานต่อองค์ความรู้ที่เจนเก่ามี ทำให้ปัจจุบันเราขาดบุคลากร คนที่มีความรู้ คนที่สามารถถ่ายทอดจากแม่แบบได้ในอนาคต แล้วที่ผ่านมาเราไม่มีการเก็บข้อมูลที่ลงลึกมากพอ หรือมีไบเบิ้ลด้านแฟชั่นโดยเฉพาะ ในขณะที่ในต่างประเทศจะมีแฟชั่น Stories เป็นหนึ่งเล่มที่เรียนกันทั่วโลก แต่บ้านเราไม่มีเล่มนี้ เพราะไม่มีการให้ความสำคัญมากพอ ขณะที่ทางด้านวัตถุดิบเอง เกษตรกรก็ปลูกน้อยลงทำให้ต้องเริ่มนำเข้ามากขึ้นจากเพื่อนบ้าน เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ที่คนไทยกลับไม่สามารถเริ่มสร้างสินค้าได้ตั้งแต่ต้นน้ำ”
พิมพา เอ่ยถึงเป้าหมายถัดไปในอนาคตที่เธออยากมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้สำเร็จ เพราะเธอมองว่าประเทศไทยมีวัตถุดิบและจุดเด่นที่มีศักยภาพมากพอ ที่จะขับเคลื่อนผ้าไทย แฟชั่นจากชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ไปสู่ผู้นำเทรนด์โลกได้เหมือนกับเมืองอื่นในต่างประเทศ และสามารถก้าวไปสู่การเป็น “ผู้นำแฟชั่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำด้าน Tropical Fashion
“แต่ปัญหาตอนนี้คือ ในชุมชนเองก็อยู่ในช่วงก้ำกึ่งระหว่างเจนเก่ากับเจนใหม่ เจนใหม่ก็ไม่อยากกลับบ้านเกิดไปสานต่อองค์ความรู้ที่เจนเก่ามี ทำให้ปัจจุบันเราขาดบุคลากร คนที่มีความรู้ คนที่สามารถถ่ายทอดจากแม่แบบได้ในอนาคต แล้วที่ผ่านมาเราไม่มีการเก็บข้อมูลที่ลงลึกมากพอ หรือมีไบเบิ้ลด้านแฟชั่นโดยเฉพาะ ในขณะที่ในต่างประเทศจะมีแฟชั่น Stories เป็นหนึ่งเล่มที่เรียนกันทั่วโลก แต่บ้านเราไม่มีเล่มนี้ เพราะไม่มีการให้ความสำคัญมากพอ ขณะที่ทางด้านวัตถุดิบเอง เกษตรกรก็ปลูกน้อยลงทำให้ต้องเริ่มนำเข้ามากขึ้นจากเพื่อนบ้าน เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ที่คนไทยกลับไม่สามารถเริ่มสร้างสินค้าได้ตั้งแต่ต้นน้ำ”
นอกจากนี้ในประเทศไทยสถาบันแฟชั่นส่วนมาก มุ่งไปที่ไอเดียแต่ยังไม่มีสถาบันที่เน้นเรื่องเทคนิคเฉพาะ ประเทศฝรั่งเศสเป็นแห่งเดียวทีมีการสอนแฟชั่นชั้นสูง เป็นแม่แบบของวงการแฟชั่นทั่วโลก ดังนั้นหากประเทศไทยเห็นความสำคัญมากพอ ตนอยากเห็นการเจรจาขอความร่วมมือกันระหว่างสถาบันส่งคนไทยไปเรียนที่สถาบันฝรั่งเศสสัก 2,000 คน ก็จะสามารถสร้างให้คนเหล่านี้กลับมาพัฒนาวงการแฟชั่นไทยไปสู่การเป็นผู้นำได้ในอนาคต ดังเช่นที่ประเทศจีนเคยมีการส่งคนไปเรียนถึง 3,000 คน ในปี ค.ศ. 2013 จนสามารถจัดเซี่ยงไฮ้แฟชั่นวีค ปักกิ่งแฟชั่นวีค ให้เกิดขึ้นได้สำเร็จ
“อนาคตอยากเห็นเมืองไทยเป็นเมืองแฟชั่น เห็นการจัด THAILAND Fashion Week ให้เป็นเรื่องที่ทุกคนรอคอยในทุกปี เราเป็นผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ เพราะที่จริงประเทศไทยมีทุกอย่างที่ดีมาก ทั้งวัตถุดิบและช่างฝีมือ แต่เราขาดความเข้มแข็งเรื่องการประชาสัมพันธ์ การสร้าง Soft Power และการสนับสนุนให้ตรงจุด อยากให้ SMEs ทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ จนได้ผลิตสินค้าเป็นของตัวเองส่งออกไปสู่คนทั่วโลก เป็นของดีให้โลกรู้ แล้วเศรษฐกิจไปจนถึงการท่องเที่ยวในประเทศไทยจะเติบโตได้อีกมหาศาล” พิมพา กล่าว